วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

รันโปรแกรมสคริป php อัตโนมัติ สำหรับบริการเซิร์ฟเวอร์ TCP ฉบับเซียน

ผู้เขียนเคยแนะนำวิธีการ สร้าง PHP ทำหน้าที่เป็น TCP server รองรับจำนวนลูกข่ายมากกว่า 10 เครื่องพร้อมกัน โดยโปรแกรมจะทำงานในโหมดโฟร์กราวด์(foreground) คือหากปิดหน้าต่างหรือปิดเทอร์มินอลโปรแกรมก็หยุดทำงาน จากนั้นผู้เขียนได้พัฒนาให้ทำงานในโหมดแบ็กกราวด์(background)ดีขึ้นมาหากปิดเทอร์มินอลโปรแกรมก็ยังทำงานได้ดีอยู่ จากนั้นก็สร้าง cron ให้ทำงานทุก ๆ 5-10 นาทีเพื่อตรวจสอบดูว่าหากโปรแกรมสคริปหยุดทำงาน ก็ให้สตาร์ทเซอร์วิสใหม่ การรันโปรแกรมสคริป php ที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์แบบนี้ หากเราหยุดโปรแกรมโดยการฆ่าโฟรเซส(kill process)บางครั้งโปรแกรมก็ไม่สามารถสตาร์ทได้ใหม่ในทันใด
socket_bind() failed: reason: Address already in use
ปํญหาที่พบเจอก็คือข้อผิดพลาด "Address already in use" วิธีแก้ของผู้เขียนก็คือรอเวลาระหว่างการรีสตาร์ทเซอร์วิสให้นานขึ้น แต่การรอเพื่อจะสตาร์ทเซอร์วิสใหม่นานถึง 5-10 นาที ข้อมูลที่ต้องการติดต่อระหว่างนั้นก็จะหายไปหรือปิดเซอร์วิสการให้บริการชั่วคราว นับเป็นปัญหาหนึ่งของการให้บริการ

ผู้เขียนเคยใช้งานโปรแกรมควบคุมเซอร์วิสให้ทำงานอยู่ตลอดเวลา  ไม่ต้องเสียน้ำตากับการรันโปรแกรมสคริป php อัตโนมัติ supervisor แบบมืออาชีพ ซึ่งเซอร์วิสนี้พบว่าทำงานได้อย่างดีเยี่ยมโดยเฉพาะการควบคุมคิวการทำงาน(beanstalk)

ครั้งนี้จะนำมาประยุกต์ให้ใช้ทำงานร่วมกันให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับรันโปรแกรมสคริป php อัตโนมัติ สำหรับบริการเซิร์ฟเวอร์ TCP ฉบับเซียน


ขั้นตอนที่ 1 หากยังไม่เคยใช้งานโปรแกรม supervisor แนะนำให้กลับไปอ่านบทความ ไม่ต้องเสียน้ำตากับการรันโปรแกรมสคริป php อัตโนมัติ supervisor แบบมืออาชีพ ก่อน สำหรับขั้นตอนนี้ให้เพิ่มคอนฟิกไฟล์ตามตัวอย่าง

  [program:ywt6035v2]
command=bash -c "ulimit 10000; exec /usr/bin/php /var/www/ywt7035v2/ywt7035v2.php"             ; the program (relative uses PATH, can take args)
process_name=%(program_name)s ; process_name expr (default %(program_name)s)
numprocs=1                    ; number of processes copies to start (def 1)
directory=/tmp                ; directory to cwd to before exec (def no cwd)
umask=022                     ; umask for process (default None)
priority=999                  ; the relative start priority (default 999)
autostart=true                ; start at supervisord start (default: true)
startsecs=1                   ; # of secs prog must stay up to be running (def. 1)
startretries=3                ; max # of serial start failures when starting (default 3)
;autorestart=unexpected        ; when to restart if exited after running (def: unexpected)
autorestart=true        ; when to restart if exited after running (def: unexpected)
exitcodes=0,2                 ; 'expected' exit codes used with autorestart (default 0,2)
stopsignal=QUIT               ; signal used to kill process (default TERM)
stopwaitsecs=10               ; max num secs to wait b4 SIGKILL (default 10)
;stopasgroup=false             ; send stop signal to the UNIX process group (default false)
;killasgroup=false             ; SIGKILL the UNIX process group (def false)
;user=chrism                   ; setuid to this UNIX account to run the program
;redirect_stderr=true          ; redirect proc stderr to stdout (default false)
;stdout_logfile=/a/path        ; stdout log path, NONE for none; default AUTO
;stdout_logfile_maxbytes=1MB   ; max # logfile bytes b4 rotation (default 50MB)
;stdout_logfile_backups=10     ; # of stdout logfile backups (default 10)
;stdout_capture_maxbytes=1MB   ; number of bytes in 'capturemode' (default 0)
;stdout_events_enabled=false   ; emit events on stdout writes (default false)
;stderr_logfile=/a/path        ; stderr log path, NONE for none; default AUTO
stderr_logfile_maxbytes=1MB   ; max # logfile bytes b4 rotation (default 50MB)
stderr_logfile_backups=10     ; # of stderr logfile backups (default 10)
;stderr_capture_maxbytes=1MB   ; number of bytes in 'capturemode' (default 0)
;stderr_events_enabled=false   ; emit events on stderr writes (default false)
;environment=A="1",B="2"       ; process environment additions (def no adds)
;serverurl=AUTO                ; override serverurl computation (childutils)
ปัญหาการรีสตาร์ทเซอร์วิสสำหรับสคริปของ php ได้ถูกแก้ไขโดยใช้แบทไฟล์(bash file) ครอบไว้อีกทีหนึ่งเพื่อป้องกันปัญหาการหยุดการทำงานของสคริป php แต่ยังค้างพอร์ตไว้อีกระยะหนึ่ง ทำให้เซอร์วิสลูกใหม่ไม่สามารถสตาร์ทได้ทันที

ขั้นตอนที่ 2 เป็นการโหลดเซอร์วิสให้ทำงานขึ้นมาใหม่ และดำเนินการตรวจสอบว่าสคริป php ของเราทำงานได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์หรือไม่ เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอน

/etc/init.d/supervisor reload
สำหรับการตรวจสอบเซอร์วิสว่าทำงานหรือไม่ให้ใช้คำสั่ง supervisorctl
#supervisorctl
pheanstalkget                    STARTING
ywt2035v2                        STARTING
ywt3035v2                        STARTING
ywt4035v2                        STARTING
ywt6035v2                        STARTING
ywt7035v2                        STARTING
supervisor> 
หรือคำสั่ง status
supervisor> status
pheanstalkget                    RUNNING   pid 19998, uptime 0:01:37
ywt2035v2                        RUNNING   pid 19467, uptime 0:41:05
ywt3035v2                        RUNNING   pid 19468, uptime 0:41:05
ywt4035v2                        RUNNING   pid 19999, uptime 0:01:22
ywt6035v2                        RUNNING   pid 19985, uptime 0:03:20
ywt7035v2                        RUNNING   pid 19925, uptime 0:03:56
จากคำสั่ง status จะเห็นได้ว่าเซอร์วิส uptime นานที่สุดแค่า 41.05 นาที ส่วนเซอร์วิสอื่น ๆ ก็เพิ่งจะทำงานได้ไม่นาน หากการหยุดทำงานในแต่ละครั้งกินเวลาถึง 5-10 นาทีแบบเดิม ข้อมูลที่สูญหายไปในแต่ละวันย่อมมากเกินกว่าค่าที่จะรับได้

จากการทดลองรันโปรแกรม supervisorctl สำหรับควบคุมโปรแกรมสคริป php พบว่าต้องเพิ่มบรรทัดในส่วนการเรียกใช้งานแอดเดรสใหม่ด้วยตามสคริปที่แนบให้ ให้เพิ่มก่อนถึงบรรทัด socket_bind()
// modified to correct Address already in use
        if (!socket_set_option($server, SOL_SOCKET, SO_REUSEADDR, 1)){
                echo "socket_set_option() failed: reason: ".socket_strerror(socket_last_error())."\n";
        }
ดังนั้นการรันโปรแกรมสคริป php อัตโนมัติ สำหรับบริการเซิร์ฟเวอร์ TCP ฉบับเซียน จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมที่สุด ข้อสำคัญเนื้อหาบทความดี ๆ อย่างนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากบริการเวบไซต์ thai-gpstracker.com ผู้นำ รู้ลึก รู้จริง ด้านการให้บริการระบบจีพีเอสติดตามรถยนต์ บริหารงานโดยทีมงานวิศวกร



วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ใช้งานโปรแกรมจัดการคิวแบบง่าย ประสิทธิภาพสูง beanstalk

หลังจากที่ผู้เขียนได้ผ่านการใช้งานโปรแกรมคิวไฟล์แบบเท็กซ์ไฟล์แบบง่ายไปได้ 3-4 เดือนที่ผ่านมา สร้างคิวไฟล์(queue file)แบบเท็กซ์ไฟล์แบบง่ายโดยใช้โปรแกรม php พบว่าผลการทำงานเป็นไปอย่างไม่ประทับใจ กล่าวคือมีการแย่งกันบันทึกไฟล์พร้อม ๆ กันหลาย ๆ ครั้งส่งผมให้ข้อความที่บันทึกลงในคิวไฟล์ไม่สมบูรณ์ ผิดพลาดค่อนข้างมาก ทำให้ต้องกลับมาทบทวนหาวิธีอื่นดู จนได้พบกับ ใช้งานโปรแกรมจัดการคิวแบบง่าย ประสิทธิภาพสูง beanstalk

การติดตั้งโปรแกรม beanstalk สามารถทำได้ไม่ยากเย็น เพียงแค่คำสั่งเดียวก็สามารถรันคิวได้แบบสมบูรณ์แบบ ส่วนโปรแกรมที่ผู้เขียนใช้บริหารจัดการคิวก็คือโปรแกรม pheanstalk ที่พัฒนาด้วยภาษา php นั่นเอง ปัญหาใหญ่ของการเริ่มต้นใช้งานภาษา php ก็คือเรื่องการติดตั้งโปรแกรมที่เรียกว่า composer ที่มีใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ประโยชน์ของการติดตั้งโปรแกรม php โดยใช้ composer ก็คือจะทำให้ขั้นตอนการติดตั้งไลบรารี่อื่น ๆ ที่โปรแกรมต้องการใช้งานเป็นไปได้อย่างอัตโนมัติ เนื้อหารายละเอียดเชิงลึกในส่วนนี้จะยังไม่กล่าวถึงสำหรับบทความในวันนี้


ขั้นตอนที่ 1 เป็นการติดตั้งโปรแกรมคิว beanstalk

apt-get install beanstalkd

ขั้นตอนที่ 2 เป็นการติดตั้งโปรแกรม pheanstalk สำหรับการติดตั้งผ่าน composer ให้สร้างไฟล์ที่ชื่อว่า composer.json

{
        "require": {
                "pda/pheanstalk": "3.0.2"}
}
จากนั้นทำการติดตั้งโปรแกรม pheanstalk โดยใช้คำสั่งติดตั้งข้างล่าง

#composer install --no-dev

ขั้นตอนที่ 3 เป็นการสร้างไฟล์ สำหรับทดสอบคิวโดยการป้อนข้อมูลลงในคิว 

<?php
require_once("vendor/autoload.php");
use \Pheanstalk\Pheanstalk;

$pheanstalk = new Pheanstalk('127.0.0.1');

// ----------------------------------------
// producer (queues jobs)

$pheanstalk
   ->useTube('testtube')
   ->put("job payload goes here\n");
?>

ขั้นตอนที่ 4 เป็นการสร้างไฟล์เพื่อดึงข้อมูลจากคิวมาใช้งาน

<?php
require_once("vendor/autoload.php");
use \Pheanstalk\Pheanstalk;

$pheanstalk = new Pheanstalk('127.0.0.1');

// ----------------------------------------
// worker (performs jobs)

  $job = $pheanstalk
   ->watch('testtube')
   ->ignore('default')
   ->reserve();
  echo $job->getData();
  $pheanstalk->delete($job);
?>

จะเห็นว่าเนื้อหาที่นำเสนอจะคัดมาแบบสั้น ๆ ง่าย ๆ จุดประสงค์ก็คือหากการเริ่มต้นลงลึกไปมาก ก็จะทำให้เสียกำลังใจไม่อยากจะทดลองทำ สุดท้ายก็ไม่ได้ประโยชน์ ผู้เขียนเสียเวลาไปหลายวันสำหรับศึกษาการติดตั้งโปรแกรมโดย composer ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ หากเข้าใจใช้งานง่ายมากและนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวางในเอกสารส่วนใหญ่ของโปรแกรมสคริป php

การรันโปรแกรมเพียงลำพังโปรแกรมเดียวครั้งเดียวโดยใช้สคริป php ยังเป็นการดำเนินการที่ค่อนข้างยุ่งยากมาก ยังไงลองศึกษา การใช้งานโปรแกรม supervisor สำหรับควบคุมสคริปต่าง ๆ ของ php ดูพบว่าเป็นเรื่องที่ง่ายขี้น

เนื้อหาดี ๆ เหล่านี้จะสำเร็จลุล่วงไปได้โดยดีไม่ได้เลย หากไม่ได้รับการสนับสนุนจาก thaigpstrackers ผู้ให้บริการระบบจีพีเอสติดตามรถยนต์ อันดับหนึ่งในประเทศไทย พบปัญหาการใช้งาน ต้องการติดตามพนักงานขับรถ ออกใบอนุญาตขนส่งเพื่อต่อทะเบียน ที่นี่มีครบถ้วนพร้อมให้บริการอย่างมืออาชีพ ดำเนินงานโดยทีมงานวิศวกร









วันอาทิตย์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ไม่ต้องเสียน้ำตากับการรันโปรแกรมสคริป php อัตโนมัติ supervisor แบบมืออาชีพ

หลายครั้งพัฒนาโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว นำไปใช้งานจริงกลับทำงานได้เพียงแค่สักครู่เดียว โปรแกรมก็หยุดทำงานลง ไม่สามารถทำให้ทำงานแบบต่อเนื่องตลอดเวลาได้ แนวทางสมัยก่อน ๆ ที่ผู้เขียนนิยมใช้ก็คือทำโปรแกรมให้รันแบบเบื้องหลัง(daemon) และใช้ cron ตั้งเวลาสำหรับตรวจสอบโพรเซสว่าทำงานอยู่หรือไม่ ทุก ๆ 5 - 10 นาทีเป็นต้น

ผู้เขียนเองทดสอบการใช้งานโปรแกรมสำหรับใช้งานคิว(queue) ที่ใช้ไลบรารี่ pheanstalk อยู่พบว่าการทำงานในแบบเบื้องหลังหรือตั้งเวลาให้ทำงานไม่สามารถใช้งานได้ โปรแกรมสคริป php จะหยุดทำงานไม่ต่อเนื่อง เสียเวลาไปหลายวันก็ยังไม่สามารถหาวิธีการสำหรับตรวจสอบสคริป php ที่สร้างใหม่ให้ทำงานตลอดเวลา รวมทั้งบันทึกล็อกไฟล์ข้อมูลการทำงานได้เองแบบอัตโนมัติด้วย ยิ่งเพิ่มงานให้ยุ่งยากมากขึ้นเป็นสองสามเท่าตัว

ไม่ต้องเสียน้ำตากับการรันโปรแกรมสคริป php อัตโนมัติ แบบมืออาชีพนี้จะติดตั้งซอฟต์แวร์ที่เขียนโดยภาษา Python ไว้คอยตรวจสอบดูเซอร์วิสว่าทำงานอยู่หรือไม่ หากหยุดทำงานก็สั่งสตาร์ทเซอร์วิสใหม่ให้อัตโนมัติ แบบมืออาชีพ ที่สำคัญใช้งานง่ายมาก ติดตั้งโปรแกรมก็ง่ายด้วย นี่แหล่ะเยี่ยมที่สุดสำหรับงานนี้


 ขั้นตอนที่ 1 สำหรับโปรแกรมที่ใช้งานก็คือโปรแกรม supervisor การติดตั้งบนเครื่องลีนุกส์เพียงแค่พิมพ์คำสั่งตามที่ผู้เขียนแนบให้แค่นั้น

#apt-get install supervisor

ขั้นตอนที่ 2 กำหนดค่าคอนฟิกให้กับโปรแกรม ตามตัวอย่างผู้เขียนต้องการรันสคริป php แบบอัตโนมัติ แบบตรวจสอบเซอร์วิสให้ด้วยหากหยุดทำงานก็เริ่มต้นสตาร์ทให้ใหม่ด้วย ตามตัวอย่างให้สร้างไฟล์ชื่อ pheanstalk.conf ไว้ในโฟลเดอร์ /etc/supervisor/conf.d/ ข้อสำคัญที่สุดห้ามรันโปรแกรมแบบ daemon หรือแบบเบื้องหลัง

[program:pheanstalkget.php]
command=/usr/bin/php /var/www/tpit/gprmc/pheanstalk/pheanstalkget.php              ; the program (relative uses PATH, can take args)
process_name=%(program_name)s ; process_name expr (default %(program_name)s)
numprocs=1                    ; number of processes copies to start (def 1)
;directory=/tmp                ; directory to cwd to before exec (def no cwd)
umask=022                     ; umask for process (default None)
priority=999                  ; the relative start priority (default 999)
autostart=true                ; start at supervisord start (default: true)
autorestart=true        ; whether/when to restart (default: unexpected)
startsecs=1                   ; number of secs prog must stay running (def. 1)
startretries=3                ; max # of serial start failures (default 3)
exitcodes=0,2                 ; 'expected' exit codes for process (default 0,2)

ขั้นตอนที่ 3 เป็นการเริ่มใช้งานโปรแกรม supervisor และการควบคุมโปรแกรมสคริป php โดยใช้โปรแกรม supervisorctl

#/etc/init.d/supervisor start
# supervisorctl
pheanstalkget.php                   RUNNING   pid 30700, uptime 0:16:55
supervisor>


ผู้เขียนได้ทำการทดสอบการทำงานพบว่าได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจในเบื้องต้น แต่อย่างไรก็ตามยังต้องใช้เวลาพิสูจน์การทำงานจริงอีกระยะหนึ่ง ผลการทดลองจะได้นำมาอัพเดทกันอีกครั้งหนึ่งในส่วนของเนื้อหา เรื่องราวดี ๆ อย่างนี้ยังมีให้พบเห็นกันได้ที่ gpstrackingthailand.com อีกเวบไซต์หนึ่งที่ผู้เขียนได้มีโอกาสพัฒนาขึ้นมาเอง สำหรับข้อมูลเนื้อหาสาระดี ๆ จากผู้ให้บริการระบบจีพีเอสติดตามรถยนต์ ส่วนเนื้อหาเรื่องถัดไปที่พลาดไม่ได้ก็คือการรันโปรแกรมคิว beanstalk พร้อมกับโปรแกรมไลบรารี่ pheanstalk สำหรับบริหารจัดการคิวแบบง่าย ๆ สไตล์ที่เราถนัด ทำจริง ประสบการณ์จริง เพื่อการพัฒนาองค์ความรู้แบบยั่งยืน






สร้างคิวไฟล์(queue file)แบบเท็กซ์ไฟล์แบบง่ายโดยใช้โปรแกรม php

หลายครั้งที่การสั่งให้ทำงานแบบเรียลไทม์หรือทันทีทันใดไม่สามารถดำเนินการได้โดยเฉพาะการข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตบางครั้งสำเร็จ บางครั้งไม่สำเร็จ สำหรับงานลักษณะนี้ ผู้เขียนจะขอแนะนำให้ใช้คิวไฟล์(queue file)แบบง่ายโดยใช้คลาสของโปรแกรมที่ใช้งานง่ายที่สุดก็คือ php นั่นเอง

สำหรับการใช้งานคิวไฟล์เองก็ไม่ยุ่งยาก เช่นหากต้องการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิวไฟล์ก็ใช้คำสั่ง enqueue() หากต้องการดึงข้อมูลออกจากคิวไฟล์ก็แค่ใช้คำสั่ง dequeue() และหากต้องการให้คิวไฟล์สามารถจัดเก็บข้อมูลในเท็กซ์ไฟล์ก็ใช้คำสั่ง save() นับว่าการใช้งานสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างมากมาย


สำหรับข้อเสียที่ผู้เขียนพบเจอของการใช้งานแบบคิวไฟล์นี้ก็คือ ข้อมูลในไฟล์ที่ถูกเก็บจะปนกัน หากมีหลาย ๆ เซสชั่นดำเนินการจัดเก็บไฟล์พร้อม ๆ กัน เนื่องด้วยกระบวนการจัดเก็บไฟล์เองไม่ได้ป้องกันปัญหานี้ไว้ ซึ่งปัญหานี้หากใช้งานในระบบใหญ่ ๆ ก็ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ เพราะจะเกิดการแข้งขันการจัดเก็บข้อมูลตลอดเวลา การใช้เทคนิคคิวไฟล์นี้ แนะนำให้เป็นศึกษาหาความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นก่อนจะนำไปประยุกต์ใข้ด้วยเครื่องมืออื่น ๆ ต่อไป

ขั้นตอนการสร้างคิวไฟล์แบบเท็กซ์ไฟล์แบบง่ายโดยใช้โปรแกรม php

ขั้นตอนที่ 1 ในการสร้างการป้อนข้อมูลเข้าคิวไฟล์ ผู้เขียนแนะนำให้ใช้โค๊ดอย่างง่าย ๆ ที่แปะไว้ให้ข้างล่างนี้ โดย include เป็นการเรียกใช้งานคลาสคิวไฟล์ คำสั่ง new เป็นการสร้างออปเจคขึ้นมาใหม่ เมทธอด enqueue เป็นการป้อนข้อมูลเข้าคิวไฟล์ จากนั้นทำการ save ลงในเท็กซ์ไฟล์

<?php
include "queue/TitleManager.php";
$qt = new TitleManager();
$qt->enqueue($msgs);
$qt->save();
?>

ขั้นตอนที่ 2 เป็นการสร้างโค๊ดสำหรับดึงข้อมูลออกจากคิวไฟล์ include เป็นการเรียกใช้งานคลาสคิวไฟล์ คำสั่ง new เป็นการสร้างออปเจคขึ้นใหม่ ส่วนเมทธอด dequeue เป็นการอ่านค่าจากคิวไฟล์ในตำแหน่งที่พอยเตอร์อยู่ และเมทธอด save เป็นการบันทึกข้อมูลลงเท็กซ์ไฟล์

<?php
include "queue/TitleManager.php";
qt = new TitleManager();
$msg = $qt->dequeue();
$qt->save();
?>   

ขั้นตอนที่ 3 เป็นการสร้างไฟล์สำหรับคลาสคิวไฟล์ ให้ตั้งชื่อว่า TitleManager.php

<?php

// Title Manager class (essentially a queue) that uses a simple text file for storage
class TitleManager {
        private $filename = "/tmp/gpsmessages.txt";
        private $queueLimit = 10000;
        private $titles;

        // Upon creation, load up our titles from the file
        public function __construct() {
                $this->titles = array();
                $this->loadTitles();
        }


        private function loadTitles() {
                if (file_exists($this->filename)) {
                        $this->titles = file($this->filename, FILE_SKIP_EMPTY_LINES);
                }
        }

        // Add a title to the queue and if we are at our limit, drop one off the end.
        public function enqueue($strTitle) {
                if (!empty($strTitle)) {
                        array_unshift($this->titles, $strTitle . "\n");

                        if (count($this->titles) > $this->queueLimit) {
                                $this->dequeue();
                        }
                }
        }

        // Remove a title item from the end of our list
        public function dequeue() {
                if (count($this->titles) > 0) {
                        return trim(array_pop($this->titles));
                }
                return "";
        }

        // Save the contents of our array back to the file.
        public function save() {
                if (file_put_contents($this->filename, $this->titles)) {
                        return true;
                }
                return false;
        }


        // Check if an item is already in our list.
        // Note: We could have also used in_array here instead of a loop.
        public function isTitlePresent($strTitle = "") {
                if (!empty($strTitle)) {
                        foreach ($this->titles as $title) {
                                $trimmedTitle = trim($title);
                                $strTitle = trim($strTitle);
                                if (strtolower($strTitle) == strtolower($trimmedTitle)) { return true; }
                        }

                        return false;
                }
                return -1;
        }


        // Mainly a debug function to print our values to screen.
        public function printValues() {
                foreach ($this->titles as $value) {
                        echo "$value<br/>";
                }
        }
}
?>


สรุปว่า ด้วยโค๊ดง่าย ๆ เพียงแค่นี้ เราก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานการใช้คิวไฟล์เบื้องต้น ได้อย่างไม่ยาก ตามที่ผู้เขียนแนะนำไว้ตั้งแต่ต้นว่าไม่เหมาะกับการนำไปใช้งานจริงในระบบที่มีการบันทึกคิวไฟล์หลายๆเซสชั่นพร้อมกันเพราะจะเกิดการบันทึกไฟล์ที่แข่งกันหรือปนกันระหว่างเซสชั่นต่าง ๆ นั่นเอง

ส่วนวิธีการที่ดีกว่าการใช้คิวแบบเท็กซ์ไฟล์ ผู้เขียนได้ทดลองใช้งานอยู่ในปัจจุบันก็คือ "beanstalk" นั่นเองจัดว่าเป็นโปรแกรมจัดการคิวแบบง่าย ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งผู้เขียนจะได้นำเสนอบทความการใช้งาน beanstalk กันอีกครั้งหนึ่งในภายภาคหน้า เนื้อหาดี ๆเหล่านี้จะสำเร็จลุล่วงไปไม่ได้เลย หากไม่ได้รับการสนับสนุนจาก บจก.ไทย พรอสเพอรัส ไอที ผู้นำด้านการให้บริการระบบจีพีเอสติดตามรถยนต์ อันดับหนึ่งของประเทศไทย ดำเนินการด้วยทีมงานวิศวกร ช่วยให้รถยนต์ของเราไม่พลาดการเชื่อมต่อ