วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

การสำรองข้อมูลพาร์ติชั่นแบบ lvm โดยใช้ snapshot

 

วิธีการสำรองพาร์ติชั่นแบบ logical volumn management(lvm) โดยใช้ snapshot 

เป็นวิธีการที่สะดวกที่สุด โดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานทั้งหมดของโอเอส กล่าวคือขั้นตอนการสำรองข้อมูลโดยทั่ว ๆ ไป ต้องทำการปิดระบบเกสต์โอเอสก่อน จากนั้นค่อยทำการคัดลอกเกสต์โอเอสอิมเมจไฟล์ไปยังฮาร์ดดิสก์ที่ใช้สำหรับสำรองข้อมูลนั่นเอง 

สำหรับการสำรองข้อมูลพาร์ติชั่นแบบ lvm โดยใช้ snapshot นั้นไม่ต้องปิดเครื่องที่เป็นเกสต์โอเอสทำให้ลูกค้าไม่ทราบว่าขณะนี้ระบบกำลังทำการสำรองข้อมูลอยู่นั่นเอง สำหรับเนื้อหาดี ๆเหล่านี้ต้องของขอบพระคุณเวบไซต์ดี ๆ thaigpstrackers.com ผู้นำด้านการให้บริการระบบติดตามรถยนต์ที่ทันสมัยที่สุด ประหยัดสุดในปัจจุบัน การดำเนินการสามารถทำได้โดยขั้นตอนต่อไปนี้

ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบด้วยคำสั่ง lvs เพื่อตรวจสอบดูว่ามีพาร์ติชั่นไหนบ้างในระบบ จากตัวอย่างจะแสดงพาร์ติชั่นทั้งหมดประกอบไปด้วย vm2_02 อยู่ มีขนาดความจุ 80GB มีชื่อของ VG คือ innova-vg


# lvs
  LV            VG        Attr       LSize   Pool Origin Data%  Meta%  Move Log Cpy%Sync Convert
  vm2_02                innova-vg owi-aos---  80.00g                                   

ขั้นตอนที่ 2 เป็นการสร้างพาร์ติชั่นแบบ snapshot ขนาด 80gb เพื่อทำการคัดลอกเกสต์โอเอสอิมเมจที่กำลังทำงานอยู่


#lvcreate -L80G -s -n vm2_02_snapshot innova-vg/vm2_02

ขั้นตอนที่ 3 ใช้คำสั่ง lvs ตรวจสอบพาร์ติชั่นที่ทำการสร้างขึ้นมาใหม่ จะพบว่ามีพาร์ติชั่น vm2_02_snapshot ขนาด 80gb ที่ถูกสร้างในขั้นตอนที่ 2 นั่นเอง


# lvs
  LV            VG        Attr       LSize   Pool Origin Data%  Meta%  Move Log Cpy%Sync Convert
  vm2_02                innova-vg owi-aos---  80.00g                                
  vm2_02_snapshot innova-vg swi-a-s---  80.00g      vm2_02 1.16                                          

ขั้นตอนที่ 4 เป็นการสำรองข้อมูลไปยัง USB drive หรือ external harddisk โดยใช้คำสั่ง dd หลังจากสำรองของมูลเสร็จเรียบร้อยแล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอนถัดไป


#dd if=/dev/innova-vg/vm2_02_snapshot of=/mnt/usb/idcbackup/vm2_02

 หรือต้องการดูความก้าวหน้าของการทำงานของคำสั่ง dd

#dd if=/dev/innova-vg/vm2_02_snapshot | pv -s 80G | dd of=/mnt/usb/idcbackup/vm2_02 bs=4096

 

ขั้นตอนที่ 5 เป็นการลบ snapshot ที่ได้สร้างขึ้นมาออก เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินการ


#lvremove /dev/innova-vg/vm2_02_snapshot

จะพบว่าการดำเนินการทั้งหมดสามารถทำได้โดยมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก และสามารถทำได้ทันที ย่อมเป็นวิธีการที่แนะนำให้ใช้กันแทนวิธีเดิม เพราะไม่ต้องปิดระบบเพื่อทำการสำรองข้อมูลนั่นเอง ผู้เขียนเองมีระบบเกสต์โอเอสที่จำเป็นต้องปิดระบบเพื่อทำการสำรองข้อมูลอยู่พอสมควร เนื้อหาในเรื่องต่อ ๆ ไปจะได้ศึกษาวิธีการย้ายจากระบบเดิมมาเป็นแบบ lvm ทั้งหมด